พิบัติที่เกิดจากคลื่นสึนามิแต่ละครั้งล้วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สิน และชีวิตเหลือคณานับและถึงแม้ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดคลื่นดังกล่าวเกิดจากการ เคลื่อนที่ของแผ่นดินใต้มหาสมุทรคล้ายกับแผ่นดินไหวซึ่งไม่สามารถทำนายได้ล่วง หน้า แต่การเกิดคลื่นดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดขึ้นกลางทะเลคลื่นขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจะ ใช้เวลาช่วงหนึ่งในการเดินทางจากตำแหน่งที่เกิดเข้ามาก่อให้เกิดความเสียหายซึ่ง มีความเร็วมากถึง 400-500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นถ้าระบบตรวจจับการเกิด ของคลื่นดังกล่าวทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจจับคลื่นเหล่านั้นทำได้ แม่นยำมากขึ้น จึงมีเวลาพอเพียงก่อนที่คลื่นจะเดินทางมาถึงซึ่งอาจเป็นตั้งแต่ 30 นาทีจนถึงหลายชั่วโมง
ปัจจัยส่วนหนึ่งในการเสริมประสิทธิภาพของระบบคือ การสื่อสารข้อมูลไปถึง ประชาชนที่อยู่ในเขตความเสี่ยงได้รับรู้อย่างรวดเร็วและทันต่อการเตือนภัยที่จะเกิด ขึ้นในโอกาสแรกที่ทำได้ ปัจจุบันในต่างประเทศจะใช้ช่องทางการสื่อสารปกติเช่น วิทยุและโทรทัศน์ แต่วิธีการดังกล่าวยังไม่มีความเหมาะสมพอที่จะนำมาใช้ใน ประเทศไทย เนื่องจากทั้งวิทยุและโทรทัศน์จะรับข่าวสารได้เฉพาะเวลาที่เครื่องรับ เปิดรับอยู่ส่วนในเวลาที่เครื่องรับมิได้เปิดข้อมูลการเตือนภัยดังกล่าวจะไม่สามารถส่ง ข่าวได้ จากปัญหาข้างต้นจึงมีจำเป็นจะต้องมีระบบเตือนภัยเฉพาะขึ้นต่างหาก
ระบบส่งผ่านข้อมูลการเตือนภัยที่สร้างขึ้น จะประกอบด้วยเครือข่ายพื้นฐานจาก สถานีสังเกตการณ์ในส่วนกลาง ไปยังพื้นที่ชายฝั่งทุกจังหวัด ต่อเข้ากับสถานี วิทยุในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อส่งรหัสสัญญาณเตือนภัยผ่านช่องทางวิทยุ FM ในท้องถิ่น ไปยังเครื่องรับซึ่งติดตั้งอยู่ในเครื่องไฟฉุกเฉิน เพื่อถอดรหัสต่อให้สัญญาณดังขึ้น เพื่อเตือนภัย โดยเครื่องรับทั้งหมดถูกออกแบบนี้ถูกติดตั้งอยู่ในเครื่องไฟฉุกเฉิน ชนิดที่มีแบตเตอรี่อยู่ภายใน (EMEGENCY LIGHT) การทำงานของระบบจะ ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือส่วนเครื่องส่ง และส่วนเครื่องรับ
ส่วนเครื่องส่งได้แก่เครือข่ายพื้นฐานจากสถานีสังเกตการณ์ในส่วนกลาง ไปยังพื้นที่ชายฝั่งทุกจังหวัด เครื่องส่งวิทยุ FM ซึ่งจะประกอบกับชุดเข้ารหัส และ ชุดนาฬิกา โดยเครื่องส่งวิทยุจะทำงานตามตารางเวลาที่ชุดนาฬิกากำหนด ซึ่งในช่วงเวลาปกติ จะมีการตรวจสอบการทำงานของระบบ โดยชุดนาฬิกาจะส่งสัญญาณให้ชุดเข้ารหัส เพื่อส่งเลขรหัส 8 หลักไปยังเครื่องส่ง เพื่อส่งสัญญาณ FM ในลักษณะกระจายเสียง
ส่วนที่สองได้แก่เครื่องรับ และเครื่องถอดรหัส วงจรกำเนิดเสียงสัญญาณ เมื่อเครื่อง รับ ได้รับสัญญาณตัวเลขในลักษณะสัญญาณเสียงได้ จะทำการถอดรหัสแล้วส่ง สัญญาณไปควบคุม ให้วงจรกำเนิดเสียงเปล่งเสียงจังหวะสั้นๆ ขึ้น 3 ครั้งและหลอด ไฟสัญญาณติดขึ้น เพื่อแสดงให้ทราบว่าเครื่องรับอยู่ในสภาพปกติในลักษณะตรวจ สอบระบบนี้จะเกิดขึ้นทุกวัน วันละ 1 ครั้งเพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจว่า ระบบทำงานปกต สำหรับกรณเตือนภัย ีผู้มีอำนาจในการยืนยันการ เตือนภัยจะเป็นผู้กดสวิทช์จาก สถานีสังเกตการณ์ในส่วนกลาง เพื่อส่งสัญญาณเลขรหัสสำหรับเตือนภัย ไปยังพื้นที่ ชายฝั่งที่ต้องการเตือนภัย จากนั้น หลังจากเครื่องรับ รับสัญญาณได้จะถูกถอดรหัส เพื่อส่งไปยังวงจร กำเนิดสัญญาณเสียง ซึ่งมีความแตกต่างจากเสียงตรวจสอบระบบ และจะมีความดังกว่ามาก”เหตุที่เลือกติดตั้งเครื่องเตือนภัยร่วมกันกับไฟฉุกเฉินเนื่อง จากระบบไฟฉุกเฉินจะมีแบตเตอรี่สำรองอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เครื่องเตือนภัยยัง สามารถทำงานต่อไปได้ แม้กระแสไฟฟ้าจะดับ”